ผังรากเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียในทันที
Immediate implant replacement in extraction socket
โดยปกติของคนไข้ที่ต้องการทดแทนฟันที่สูญเสียไปด้วยการทำรากเทียม เมื่อทำการถอนฟันออกไปแล้วต้องรอเวลาประมาณ 6 เดือน
เพื่อให้กระดูกสร้างขึ้นมาทดแทนช่องว่าง และคนไข้จำเป็นต้องมาพบทันตแพทย์ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย
เพื่อผ่าตัดฝังตัวรากเทียมและรอให้มีการยึดของกระดูกกับตัวรากเทียม โดยใช้เวลา 6 เดือนสำหรับกระดูกขากรรไกรบน
และ 3 เดือนสำหรับกระดูกขากรรไกรล่าง หลังจากนั้นมาต่อเดือยรองรับครอบฟัน และใส่ครอบฟัน โดยใช้เวลาเกือบ 7 เดือน
แต่หากคนไข้ถอนฟันและทำการผังรากเทียมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปในทันทีก็สามารถทำได้
ข้อดีของการผังรากเทียมทดแทนในทันที คือ
1. ลดจำนวนครั้งของการผ่าตัดลง เพราะสามารถผังรากเทียมหลังจากการถอนฟันได้เลย
และยังสามารถร่นระยะเวลาการรอคอยขั้นตอนการครอบฟันบนรากเทียมด้วยอีก
โดยในบางครั้งยังสามารถใช้รากเทียมระบบที่สามารถทำครอบฟันบนรากเทียมได้ในทันทีที่ผ่าตัดผังรากเทียมเลย
2. ช่วยรักษาสภาพของกระดูกและเหงือกไม่ให้ยุบตัวมากนัก เนื่องจากกระดูกขากรรไกรที่ไม่มีฟัน
หรือรากเทียมอยู่จะเกิดการฝ่อลีบของกระดูกโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากการถอนฟัน
อาจทำให้ระดับของเหงือกร่นลงโดยเฉพาะกระดูกและเหงือกบริเวณฟันซี่หน้า ถ้าถอนไปนานจะมีการยุบและหดตัวของกระดูกและเหงือก
เวลาใส่ฟันปลอมจะเห็นช่องว่างระหว่างซี่ฟันทำให้ความสวยงามจากการใส่ฟันลดน้อยลง
3. แผลจากการผ่าตัดหายได้เร็ว เพราะบริเวณที่ถอนฟันไปจะมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมากทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีการซ่อมแซมบาดแผลได้อย่างรวดเร็ว
แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาประเภทนี้คนไข้ควรต้องปรึกษาทันตแพทย์ผู้มีประสบการณ์ เพื่อวางแผนการรักษาล่วงหน้า
โดยทันตแพทย์จะพิจารณาว่าคนไข้เหมาะสมที่จะทำการผังรากเทียมได้ในทันทีหรือไม่ โดยจะต้องตรวจดูอาการ ดูกระดูกเบ้าฟันอย่างละเอียด
และเลือกวัสดุรากเทียมที่มีรูปร่าง พื้นผิวที่เหมาะสมแตกต่างกันไป เพื่อให้การผังรากเทียมมีความมั่นคงเพียงพอที่จะยึดติดกระดูกในระยะเวลาต่อมาได้
ซึ่งการผ่าตัดฝังรากเทียมทันทีเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปนั้นถือเป็นเทคนิคขั้นสูง ต้องอาศัยทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดฝังรากเทียมมาอย่างดี
การฝังรากเทียมทันทีที่ได้รับการถอนฟันออกไป จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในการวางต่ำแหน่งของรากฟันเทียม เพื่อให้ได้มุมและต่ำแหน่งที่เหมาะสม
ในการทำครอบฟันต่อจากรากเทียม
ซึ่งหากวางต่ำแหน่งผิดอาจทำให้ครอบฟันไม่สวยงาม ดูไม่กลมกลืนเป็นธรรมชาติกับฟันข้างเคียง
|
|
|