ทีมวิจัยจากมหาลัยโตรอนโต (University of Toronto) ประเทศแคนาดา ได้ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเตมเซลล์ของคนที่เสียชีวิตแล้ว
เข้าไปที่ตาของหนูและลูกไก่ ผลที่ได้รับคือ เซลล์ที่ปลูกถ่ายพัฒนาเป็นเซลล์รับภาพได้ในที่สุด ช่วยสร้างความหวังให้ผู้พิการทางสายตาว่าจะกลับมามองเห็นได้อย่างปกติอีกครั้ง
ที่มา : BBC News, 25 ตุลาคม 2547 |
|
ทีมวิจัยจากมหาลัยเวอร์มอนต์ (University of Vermont) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าสเตมเซลล์จากร่างกายที่ปลูกถ่ายเข้าไปในเนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลายแล้ว สร้างเซลล์ปอดขึ้นมาใหม่ได้
งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Respiratory and Critical Cars Medcine ผลวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นว่าเลือดและไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งที่มาของสเตมเซลล์ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างอวัยวะทดแทนในมนุษย์
ที่มา : www.sciencedaily.com, 1 สิงหาคม 2546 |
|
ทีมวิจัยจากมหาลัยพิตต์สเบิร์ก (University of Pittsburgh) ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการใช้สเตมเซลล์รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว
โดยพบว่าหัวใจของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกสเตมเซลล์ทำงานได้ดีกว่าหัวใจของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายสเตมเซลล์
ที่มา : new@nature.com, 27 มิถุนายน 2547
มูลนิธิสเตมเซลล์แห่งสหราชอาณาจักร (UK Stem Cell Foundation) สนับสนุนการทดลองปลูกถ่ายสเตมเซลล์เข้าสู่ผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นครั้งแรกของโลก
โดยจะเริ่มงานวิจัยระดับคลินิกแก่อาสาอสัคร 100 ราย ปลายเดือนธันวาคม 2549
ที่มา : BBC News, 8 พฤศจิกายน 2549 |
|
ทีมวิจัยจาก San Raffaele Scientific Institute ประเทศอิตาลี ประสบความสำเร็จในการใช้สเตมเซลล์รักษาสุนัขขาพิการให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
ผลจากการศึกษาวิจัยช่วยสร้างความหวังให้แก่ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อม ชนิดดูเชน (Duchenne muscular dystrophin)ว่าจะกลับมาเดินได้อย่างปกติอีกครั้ง
ที่มา : www.newscienlist.com, 15 พฤศจิกายน 2549 |
|