หน้าแรก

ทำเนียบทันตแพทย์

บริการ

เทคโนโลยี

สาระน่ารู้

เกี่ยวกับเรา

กระดานข่าว

ทันตกรรมรากเทียม l ทันตกรรมประดิษฐ์ l ทันตกรรมจัดฟัน l ทันตกรรมตกแต่ง l เลเซอร์ฟอกสีฟัน l รักษารากฟัน

 ทันตกรรมเด็ก l ปริทันตวิทยา l ทันตกรรมบูรณะ l ทันตกรรมบดเคี้ยว I ทันตกรรมทั่วไป l ศัลยศาสตร์ช่องปาก

: : : ทันตกรรมรักษาราก : : :

   

 

รักษารากฟัน

เมื่อฟันเริ่มผุแต่ปล่อยทิ้งไว้ไม่ไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ การผุลุกลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน จำเป็นต้องรักษาคลองรากฟัน หากทิ้งไว้นานๆรักษาคลองรากฟันไม่ได้อาจต้องถอนฟันทิ้ง

 

 : : อาการ : :

มีอาการปวดฟันไม่ใช่เสียวฟัน อยู่เฉยๆแล้วปวด เพราะฟันที่ผุ จะผุที่บริเวณเคลือบฟันและเนื้อฟันซึ่งไม่มีเส้นประสาท เพราะฉะนั้นจะไม่ปวดแต่จะเสียวแทน แต่เมื่อใดก็ตามเมื่อการผุลุกลามไปจนถึงโพรงประสาทฟัน จะเกิดการอักเสบในโพรงประสาทฟันและทำให้ปวดฟันนั้นเอง

 

. : : โดยปกติฟันจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วน คือ

 

 

1. เคลือบฟัน (Enamel)  ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่อยู่ภายนอกสุดและมีความแข็งแรงที่สุดของฟัน ทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องเนื้อฟันและส่วนที่อยู่ข้างใน

2. เนื้อฟัน (Dentin) อยู่ระหว่างเคลือบฟันกับโพรงประสาทฟัน  ส่วนนี้จะไวต่อการสัมผัสและอุณหภูมิมากกว่าเคลือบฟันมาก ดังนั้นเมื่อเคลือบฟันถูกทำลายออกไปไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามจนทำให้เห็นเนื้อฟันแล้ว มักจะมีอาการเสียวฟันตามมาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการสัมผัสหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไปในช่องปาก 

3. โพรงประสาทฟัน (Dental pulp) ส่วนนี้จะประกอบไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทต่างๆที่มาหล่อเลี้ยงฟัน ทำให้ฟันมีชีวิตอยู่ได้ โพรงประสาทฟันนี้จะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นทุกชนิดสูงมากเนื่องจากประกอบไปด้วยเส้นประสาทรับความรู้สึกจำนวนมาก ดังนั้นหากเคลือบฟันกับเนื้อฟันถูกทำลายออกไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟันแล้ว มักจะมีอาการปวดฟันแสดงออกมา 

 

เมื่อใดก็ตามที่การผุลุกลามจนทะลุถึงโพรงประสาทฟัน สารพิษจากจุลินทรีย์ก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นภายในโพรงประสาท แต่เนื่องจากโพรงประสาทถูกเนื้อฟันซึ่งเป็นส่วนแข็งล้อมอยู่ ทำให้หนองและของเสียต่างๆไม่สามารถระบายออกได้ เมื่อมีอาการอักเสบจึงปวดมาก

 

. . : การรักษา : . .

 

ขั้นแรก :

ทันตแพทย์จะทำการเปิดโพรงประสาทฟันโดยการกรอเจาะตัวฟัน เพื่อทำการระบายหนองออก

ขั้นที่สอง :

ทันตแพทย์จะใช้เข็มเล็กๆสอดเข้าไปในคลองรากฟัน เพื่อกำจัดเนื้อเยื้อที่อักเสบในโพรงประสาทฟันและเนื้อฟันที่มีการผุออก และทำความสะอาด ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาหลายครั้ง ระยะรักษารากฟันขึ้นอยู่กับซี่ฟัน โดยฟันหน้าจะมีคลองรากเดียวส่วนฟันกรามอาจมี 3-4 คลองรากฟัน โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ระยะเวลาการรักษาประมาณ 2-3 ครั้ง

ขั้นที่สาม :

หลังจากทำความสะอาดคลองรากปราศจากเชื่อจุลินทรีย์แล้ว ทันตแพทย์จะอุดคลองรากฟัน และทำการบูรณะตัวฟันต่อไป

 

 

ฟันที่รักษารากฟันแล้ว ส่วนใหญ่เนื้อฟันที่ดีจะเหลือน้อย และฟันจะเปราะกว่าปกติ ทำให้แตกหักง่าย จึงควรทำครอบฟันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน ฟันที่มีขนาดเล็ก เช่น ฟันหน้าและฟันกรามน้อย หลังรักษารากฟันแล้วมักทำเดือยฟันร่วมกับการทำครอบฟัน ส่วนฟันกรามใหญ่ที่มีเนื้อฟันดีเหลืออยู่มากอาจเพียงอุดโพรงฟันก่อนค่อยทำครอบฟัน

บางท่านอาจคิดว่า ตอนแรกที่มารักษารากฟันเพราะอาการปวดฟัน เมื่อทันตแพทย์รักษาในครั้งแรกอาการปวดหายไปก็คิดว่าหายดีแล้ว เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะฟันที่รักษารากฟันค้างไว้อยู่ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันไว้โดยใช้วัสดุอุดฟันชั่วคราวซึ่งจะไม่คงทนและอาจมีการรั่วซึมทำให้กลับไปติดเชื้ออีกครั้งได้ ทางที่ดีจึงควรรักษาให้ครบทุกขั้นตอน

ในบางกรณีเมื่อทันตแพทย์ทำการรักษาและครอบฟันเรียบร้อยแล้ว อาจเกิดเหตุคาดไม่ถึงในเวลาต่อมา เช่นอาจมีการติดเชื้อเพิ่ม, กำจัดเชื้อโรคไม่หมดในการรักษาครั้งแรก ,การติดเชื้อที่ปลายรากฟันอื่นในซี่เดียวกัน, การอุดเกินปลายราก หรือมีเครื่องมือหักค้างอยู่ที่คลองรากฟัน ซึ่งจำเป็นต้องรื้อวัสดุอุดปลายรากออก และจำเป็นต้องมารักษารากฟันอีกครั้ง Retreatment หรือในบางครั้งไม่สามารถรื้อฟันเพื่อรักษารากฟันด้วยวิธีปกติได้อาจต้องทำศัลยกรรมปลายรากด้วยวิธี Retrograde โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรักษาฟันไว้ในกรณีที่อุดคลองรากฟันด้วยวิธีปกติล้มเหลว

 
       

หน้า 1 l 2

............................................................................................................................

MAKE SURE OF YOUR SMILE. Copyright © 2004 SILOM DENTAL BUILDING. All Rights Reserved.

Call Center : (66) 2636 9091,97 Tel : (66) 2636 9092-5  Fax : (66) 26369096

e-mail : silomdental@silomdental.com

 

dental clinic

dental clinic bangkok

dental implant bangkok

dental implants

dental implants bangkok

dental thailand

dental bangkok