หน้าแรก

ทำเนียบทันตแพทย์

บริการ

เทคโนโลยี

สาระน่ารู้

เกี่ยวกับเรา

กระดานข่าว

ทันตกรรมรากเทียม l ทันตกรรมประดิษฐ์ l ทันตกรรมจัดฟัน l ทันตกรรมตกแต่ง l เลเซอร์ฟอกสีฟัน l รักษารากฟัน

 ทันตกรรมเด็ก l ปริทันตวิทยา l ทันตกรรมบูรณะ l ทันตกรรมบดเคี้ยว I ทันตกรรมทั่วไป l ศัลยศาสตร์ช่องปาก

: : : ทันตกรรมเด็ก : : :

   

 

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางทันตกรรมได้มีการพัฒนามากขึ้นอย่างมาก ทั้งเครื่องมือและวัสดุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ส่งผลให้ภาวะการเกิดโรคฟันผุในเด็กทั่วโลกลดลง แต่กลับพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคฟันผุในเด็กไทยยังอยู่ในระดับสูงอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในประเทศที่เจริญแล้ว เหตุผลหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่นอกเหนือจากรูปแบบอาหาร และลักษณะนิสัยการกินที่ไม่ถูกต้อง ก็คือ การขาดทันตสุขศึกษาของผู้ปกครอง

ผู้ปกครองหลายท่านมองข้ามความสำคัญของฟันน้ำนม มีความคิดความเชื่อว่า “ผุไปก็ไม่เป็นไร เดี๋ยวฟันใหม่ก็ขึ้น” ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดเพราะฟันน้ำนมของเด็ก นอกจากจะใช้เคี้ยวอาหารทำให้ได้สารอาหารไปพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมอง, กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างปกติของใบหน้าและกระดูกขากรรไกร, การออกเสียงที่ชัดเจน, ความสวยงาม และยังช่วยรักษาเนื้อที่ให้ฟันแท้ขึ้นมาแทนที่อย่างเหมาะสมอีกด้วย

 

ฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุได้ 6-7 เดือน และจะทยอยขึ้นจนเต็มเมื่ออายุได้ 2-3 ขวบ เมื่อฟันน้ำนมขึ้นครบแล้ว ผู้ปกครองควรดูแลสุขภาพฟันของลูกด้วยการสอนให้แปรงฟันอย่างถูกวิธี เมื่อเด็กอายุ 6 ขวบ ฟันแท้จะเริ่มขึ้นมาแทนที่ ฟันแท้ซี่แรกคือฟันกรามซี่ในสุดซึ่งจะขึ้นหลังจากฟันน้ำนมซี่สุดท้าย  ผู้ปกครองส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นฟันน้ำนม จึงไม่ได้เอาใจใส่ โดยที่ด้านบดเคี้ยวของฟันซี่นี้จะมีหลุมร่องลึกเป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์ และสิ่งสกปรกได้ดี เป็นเหตุให้มีโอกาสเกิดฟันผุสูง จึงขอแนะนำให้ทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ทำให้ร่องฟันตื้นขึ้นง่ายต่อการทำความสะอาด ฟันแท้ของเด็กจะทยอยขึ้นจนเต็มเมื่ออายุ 12 ขวบ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานมาพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบฟันผุก็สามารถรับการรักษาก่อนที่การผุจะลุกลามทำให้การรักษายากยิ่งขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายสูง หรือหากพบว่ามีฟันขึ้นซ้อนเก  การสบฟันผิดปกติทันตแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำ และให้การรักษาเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น หรือถ้ามีปัญหาเรื่องทันตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถขอคำแนะนำจากทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆได้ เพื่อสร้างความมั่นใจในรอยยิ้มของท่าน

 

 

 

โดยทั่วไปโรคฟันผุเกิดจากปัจจัยร่วม 4 ประการคือ

1.      ตัวฟัน (ต่ำแหน่งที่เกิดฟันผุ)

2.      เชื้อจุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย (สาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ)

3.     อาหารประเภทคาร์โบโฮเดรท โดยเฉพาะแป้งและน้ำตาล (เป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ก่อให้เกิดกรดทำลายผิวฟัน)

4.     เวลา (เมื่อกรดสัมผัสผิวฟันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการทำลายผิวฟันก่อให้เกิดฟันผุ)

 

: : การป้องกันโรคฟันผุในเด็ก : :

 

 

 

1.     . : : การป้องกันที่ตัวฟัน : : .

        ฟันที่แข็งแรงจะมีโอกาสผุน้อยกว่าฟันที่ไม่แข็งแรง ลักษณะของฟันที่ไม่แข็งแรง อาจมีพื้นผิวขรุขระหรือเป็นฝ้า โดยเราสามารถป้องกันได้ 2 ระยะ คือ 

ระยะสร้างฟัน (ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา) คุณแม่ควนทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพราะการขาดวิตามิน เช่น วิตามิน A, C หรือ D และเกลือแร่บางชนิด จะทำให้ฟันไม่แข็งแรงได้ และการได้รับยาบางประเภทขณะตั้งครรภ์เช่น ยาเตตราซัยคลิน  ทำให้ฟันมีสีคล้ำได้ การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ หรือเด็กมีไข้สูง ท้องเสียเมื่อตอนแรกคลอดก็เป็นสาเหตุทำให้ฟันไม่แข็งแรงได้เหมือนกัน

การทำความสะอาดสุขภาพช่องปากของเด็กที่ฟันยังไม่ขึ้น ทำได้โดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกบิดหมาดๆ เช็ดเหงือก เพดาน และลิ้น

-       ระยะที่ฟันขึ้น (ตั้งแต่ช่วงแรกที่ฟันเริ่มขึ้น) เด็กอายุ 1 ขวบเป็นช่วงเวลาที่ฟันกำลังสร้างตัว การได้รับฟลูออไรด์ขณะที่ฟันกำลังสร้างจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟัน ฟันที่ขึ้นมาใหม่จะยังไม่แข็งแรงและมีร่องหลุมลึก ทำให้เป็นที่สะสมของเศษอาหาร ก่อให้เกิดฟันผุได้ง่ายขึ้น ดังนั้นต้องสร้างเกราะป้องกันฟันโดยการเคลือบฟลูออไรด์ที่ร่องฟันเพื่อให้ตื้นขึ้นและง่ายต่อการทำความสะอาด หรือจะใช้วิธีรับประทานฟลูออไรด์เสริมเพื่อช่วยทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น เด็กควรได้รับฟลูออไรด์ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 16 ปี เพื่อฟันแท้ทุกซี่จะได้มีความแข็งแรง เมื่อเด็กมีฟันซี่แรกให้เริ่มใช้แปรงสีฟันที่เล็กและนุ่ม หรืออาจใช้ผ้าก๊อซพันนิ้วเช็ด

การทำความสะอาดฟันให้เด็ก ควรให้เด็กนอนในท่าที่สบาย แสงส่องเข้าช่องปากชัดเจน เพื่อให้ผู้ปกครองแปรงฟันได้ และยังไม่ควรใช้ยาสีฟันในเด็กเล็ก เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถบ้วนออกมาได้จะทานเข้าไป ควรใช้ยาสีฟันเมื่อเด็กสามารถบ้วนปากได้แล้ว

2.     . : : การป้องกันการเกิดจุลินทรีย์ : : .

วิธีง่ายๆในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ คือ การแปรงฟันหลังอาหาร (ถ้าทำได้ทุกครั้งหลังอาหารจะดีมาก) เพราะนอกจากจะเป็นการทำความสะอาดฟันให้ปราศจากคราบอาหารแล้วในยาสีฟันยังมีฟลูออไรด์ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟันอีกด้วย แต่การแปรงฟันต้องแปรงให้ถูกวิธีมิฉะนั้นฟันอาจสึกได้

3.     . : : หลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท : : .

อาหารหวานโดยเฉพาะพวกน้ำตาลหรืออาหารที่ติดฟัน เช่น คุกกี้ ช็อกโกเลต ทอฟฟี่ ขนมขบเคี้ยว ขนมถุงและลูกกวาด ซึ่งเด็กมักชอบทานเป็นอาหารว่าง รวมทั้งไม่ควรทานอาหารว่างบ่อยๆ เพราะทุกครั้งที่เราทานอาหารเชื้อจุลินทรย์จะนำอาหารเหล่านี้มาใช้ในการผลิตกรดที่สามารถทำลายฟันได้ จึงไม่ควรให้เด็กทานจุบจิบ

4.     . : : ทำความสะอาดฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง : : .

หลังจากรับประทานอาหารแล้วควรให้เด็กแปรงฟันในทันที เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กรดที่จุลินทรีย์ผลิตออกมาสัมผัสฟันนานมากพอที่จะทำลายฟันได้ ถ้าเราจัดเวลาให้เด็กรับประทานแล้วให้เแปรงฟันทำความสะอาดทันที โอกาสที่จะเกิดฟันผุก็จะน้อยลง

 

       
       

............................................................................................................................

MAKE SURE OF YOUR SMILE. Copyright © 2004 SILOM DENTAL BUILDING. All Rights Reserved.

Call Center : (66) 2636 9091,97 Tel : (66) 2636 9092-5  Fax : (66) 26369096

e-mail : silomdental@silomdental.com

 

dental clinic

dental clinic bangkok

dental implant bangkok

dental implants

dental implants bangkok

dental thailand

dental bangkok